วิธีการสั่งซื้อ
สิทธิประโยขน์สมาชิก
ชำระเงินผ่านบัตรเครดิต
วิธีการชำระเงิน
วิธีการส่งสินค้า
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
Microsoft Silver Partner MidMarket Solution Provider Microsoft Certified Solutions Associate

VMware Certified Professional 5

VMware Certified Professional 5

 


vmware vSphere ชื่อที่ยุคแห่ง Cloud ยุคแห่ง Virtualization คงไม่มีใครไม่รู้จัก แต่บทความนี้ จะมาขอเล่าให้กับเพื่อนๆที่ยังไม่รู้จักกันดีกว่าว่ามันคืออะไรกันแน่

vSphere โลกเสมือน

ย้อนไปยุคโบราณก็ดูจะเว่อไป ก็เอาเป็นว่ายุคก่อนหน้านี้ เราก็มักจะลง SERVER หนึ่งตัวกับ 1 OS ก็เป็น 1 Application วิธีการประหยัดของเราง่ายๆก็คือ เราเอาทุกอย่างไปยำรวมกัน เช่น AD , File Share , Accounting ฯลฯ ที่อยากจะยัดเข้าไปในคอม 1 เครื่อง แล้วพอ vmware เริ่มมาทำ Virtulization เขาเล่าว่าก็มีกระแสที่ไม่ยอมรับกันเกิดขึ้น แต่สมัยนี้ก็นะ ใครไม่ใช้ก็ดูจะแปลกๆ โลกที่เราเรียกว่าเสมือนนั้นเป็นจริงง่ายขึ้น ด้วยการแบ่ง 1 SERVER ทำงานเหมือนมีหลาย Server ต่างคนต่างลงโปรแกรมของตัวเอง เรียกง่ายๆว่า SERVER 1 ตัวคุณจะลง Linux , Windows 2012 , Windows 2008 , Windows 2003 หรือแม้กระทั้ง Windows 8 ลงไปในเครื่องเดียวก็ทำได้ ด้วยการแบ่งทรัพยากรกันใช้ CPU , Ram , Disk ให้เท่าไรก็แบ่งไปได้ตามใจฉันเลยทีเดียว

แล้วเจ้า vSphere มันทำงานอย่างไร
ศัพท์เทคนิค เขาเรียกว่ามันเป็น Hypervisor มันจะทำตัวเสมือนเป็น OS กลาง มันจะไม่ใช่ Multiboot หรือคนใช้ Mac ที่เรียกว่า Bootcamp ไม่ใช่ แล้วมันก็ไม่ใช่แบบ vmware workstation ที่เป็น OS ภายใต้ windows อีกที
การทำงานของ Hypervisor นั้นมันเป็นเพียง Linux ตัวเล็กๆ ที่ไม่มีอะไรให้ Hacker เจาะได้ มันเป็นแค่ Kernel คอยบริหารจัดการ resource ของระบบ ดังนั้นตัวมันเองใช้ Disk ก็น้อยมากระดับ MB

vSphere ปลอดภัยไหม ช้าไหม
หลายความเชื่อผิดๆ ที่มักจะคิดว่า พอ APP เราไปอยู่บน VM (Guest) หรือ Virtual Machine แล้วมันจะต้องช้าแน่ๆ แต่จากประสบการณ์แล้ว เราเคยนำ Server 1 ตัวแล้วแบ่งแค่ 1 VM เพื่อรันระบบเพื่อให้ได้ License vm ซึ่งมีราคาถูกกว่าบน Physical ก็ไม่พอว่าจะช้ากว่าบน Physical แต่อย่างใด
แต่จริงๆอยู่ การแบ่ง Resource มันไม่ใช่ไม่มีผลกระทบ แต่ความช้าที่ได้รับนั้นน้อยมาก แต่แลกกับสิ่งที่ได้มานั้นมันคุ้มค่ามากมาย เพราะการติดตั้งบนโลกเสมือน vm นั้นจะรันได้บนทุก hardware ไม่มีเรื่อง Driver เข้ามาขวางกั้น มันเลยเป็นเหตุให้การทำแบบนี้สามารถสร้าง HA ได้คือการย้าย vm ข้ามเครื่องกรณี server พัง หรือจะ M/A เครื่อง
สำหรับความปลอดภัยนั้น ผมคิดว่าการรันบน VM ให้ความปลอดภัยมากกว่าบน Physical เสียอีก เพราะจะไม่ส่ามารถต่อจอแล้วเข้าถึง OS ได้ บนจอเวลาต่อจะเจอแต่หน้าจอเหลืองๆของ Hypervisor จะเข้าใช้งาน OS ข้างในต้องผ่าน remote เข้า vSphere Client เท่านั้น

vSphere แพงไหม
ต้องบอกว่า vSphere แรกเริ่มมันก็เสียเงิน แต่พอมันเริ่มเปิดฟรีที่เรียกว่า vSphere ESXi นั้นก็มีคนใช้มากมาย มหาศาลจริงๆ โดยฟีเจอร์ตัวฟรีก็ค่อนข้างครบ แต่สำหรับตัวเสียเงินนั้นก็แบ่งออกเป็น 3 Edition คือ Standard , Enterprise และ Enterprise Plus ดูตารางเปรียบเทียบได้ที่นี่ แต่ที่นี่ผมจะอธิบายคร่าวๆก่อน
  1. Standard : รองรับการทำ vMotion (ย้ายข้ามเครื่อง) , Storage vMotion (ย้าย vm ข้าม Storage), High Availability (Auto start vm อีกเครื่องเวลาเครื่องหลักพัง) , Fault Tolerance (สร้างอีก vm เพื่อรองรับอีกเครื่องเสีย) , Hot add (add cpu , ram โดยไม่ down) , vShield (สร้าง Security antivirus anti-malware ให้กับ vm)
  2. Enterprise : รองรับทุกอย่างบน Standard เพิ่มรองรับ DRS , DPM คือ กระจาย Resource เครื่องมายัง vm auto
  3. Enterprise Plus : รองรับ Enterprise แต่เพิ่มส่วนของ Storage DRS ช่วยให้ load balance storage ได้ automatic


Home Product Service Solution Partner / Affiliate Support About Us Community
Privacy Policy Terms of Service Copyright/IP Policy